21 มกราคม 2564

 สวนแม่นวนจันทร์  : ทำการเกษตรผสมแบบพอเพียง มีผักผลไม้นานาชนิดไว้รับประทานทั้งปีศุนย์ฝึกอบรมให้ความรู้เรื่องการเพาะเห็ด มีสินค้าแปรรูปจากผลผลิตของสวน ภายใต้แบรนด์ นานา เนเชอรัล - Nana Naturals สินค้าโดดเด่นคือ น้ำว่านหางจระเข้ ซึ่งได้รับรางวัลจากเวทีประกวดระดับประเทศ นอกจากนี้ยังมีสินค้าใหม่คือ วุ้นกรอบว่านหางจระเข้+น้ำสมุนไพร  

 ที่ตั้ง สวนแม่นวนจันทร์  :  เลขที่ 137 หมู่4  ตำบลหินตั้ง อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก 26000

คลิก เพื่อดู แผนที่ สวนแม่นวนจันทร์  ใน Google Map


สนใจสินค้า "สวนแม่นวนจันทร์" สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  086-4488249

หรือติดตามได้ที่

Facebook  : www.facebook.com/suanmaenuanjun

Line ID  :  0864488249 

สวนแม่นวนจันทร์ suanmaenuanjun



20 มกราคม 2564

ทำปุ๋ยหมักใช้เอง

 วันนี้...สวนแม่นวนจันทร์...จะมาแนะนำการทำปุ๋ยหมักไว้ใช้เองนะครับ

ปุ๋ยหมัก คือ ปุ๋ยอินทรีย์ หรือปุ๋ยธรรมชาติ ชนิดหนึ่งที่ได้มาจากการนำเอาเศษซากพืช เช่นฟางข้า ซังข้าวโพด ต้นถั่วต่าง ๆ หญ้าแห้ง ผักตบชวา ของเหลือทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมตลอดจนขยะมูลฝอยตามบ้านเรือนมาหมักร่วมกับมูลสัตว์ ปุ๋ยเคมีหรือสารเร่งจุลินทรีย์เมื่อหมักโดยใช้ระยะเวลาหนึ่งแล้ว เศษพืชจะเปลี่ยนสภาพจากของเดิมเป็นผงเปื่อยยุ่ยสีน้ำตาลปนดำนำไปใส่ในไร่นาหรือพืชสวน เช่น ไม้ผล พืชผัก หรือไม้ดอกไม้ประดับได้


การทำปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยอินทรีย์ มีหลักเกณฑ์ที่สำคัญ คือ 
1.วัสดุที่นำมาใช้  
2.อาหารของจุลินทรีย์ 
3. การควบคุมความชื้นและอุณหภูมิ 

วัดสุที่นำมาใช้มีความสำคัญมากเพราะเป็นตัวชี้วัดคุณภาพของปุ๋ยหมัก ถ้าหากเป็นวัสดุที่มี
ธาตุอาหารพืชอยู่มากก็จะได้ปุ๋ยที่มีคุณภาพดี วัสดุดังกล่าวนี้อาจแบ่งอย่างง่าย ๆ ได้ 3 กลุ่มคือ
    1. วัสดุที่ย่อยสลายได้ง่าย ได้แก่ ใบไม้ กิ่งก้านใบ และต้นของพืชตระกูลถั่วขนาดเล็ก ผักและผลไม้ ชิ้นส่วนของสัตว์ ใช้เวลาในการย่อยสลายเพื่อเป็นปุ๋ยอินทรีย์ได้ภายใน 1 เดือน
    2. วัสดุที่ย่อยสลายได้ปานกลาง ได้แก่ หญ้าแห้ง ฟางข้าว ต้นใบข้าวโพด กิ่งไม้ขนาดเล็ก ใช้เวลาในการย่อยสลายจนเป็นปุ๋ยประมาณ 1.5 – 2 เดือน
    3. วัสดุที่ย่อยสลายได้ยาก ได้แก่ ขี้เลื่อย ซังข้าวโพด เปลือกไม้ยูคาลิปตัส ใช้เวลาการย่อยสลายจนเป็นปุ๋ยเกิน 2 เดือน 

อาหารจุลินทรีย์
เนื่องจากวัสดุที่นำมาใช้มีความหลากหลายมากบางชนิด อาจมีอาหารพืชครบสามารถให้จุลินทรีย์ย่อยสลายได้โดยไม่ต้องใช้อาหารอื่นเพิ่มก็ได้ แต่ถ้ามีความต้องการให้กระบวนย่อยสลายเสร็จสิ้นเร็ว จำเป็นจะต้องได้สารอาหารเพิ่ม สารอาหารดังกล่าว ได้แก่
  1. มูลสัตว์ต่าง ๆ
  2. รำข้าว  กากถั่วเหลือง  ปลาป่น
  3. น้ำตาลโมลาส
  4. ปุ๋ยเคมี
การใช้สารเหล่านี้ควรเลือกชนิดที่มีราคาถูก และหาได้ง่าย 

การควบคุมความชื้นและอุณหภูมิ
ส่วนนี้มีความสำคัญมาก เพราะการย่อยสลายได้เร็ว หรือช้าขึ้นอยู่กับความพอดีของอุณหภูมิและความชื้นที่ส่งเสริมให้จุลินทรีย์ย่อยสลายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นการทำปุ๋ยใช้เองควรให้มีขนาดกองที่พอเหมาะไม่เล็กเกินไป และไม่ใหญ่เกินไป และสามารถปฏิบัติงานได้ง่าย ควรมีขนาดกว้างประมาณ 2 เมตร สูง 1 เมตร ยาว 3-5 เมตร และควรมีวัสดุคลุมกองเช่น กระสอบเก่า ๆ หรือพลาสติกเพื่อรักษาความชื้น และอุณหภูมิ
 
วิธีการทำ
1. นำวัสดุที่ต้องการทำมากองกับพื้นที่ราบเสมอกัน สูงประมาณ 50 ซ.ม.
2. นำอาหารจุลินทรีย์ เช่น มูลสัตว์ โรยลงส่วนบนของกองปุ๋ย ปริมาณที่ใช้ขึ้นอยู่กัคุณสมบัติวัสดุ ถ้าเป็นวัสดุย่อยง่ายใช้ในอัตรา มูลสัตว์ : วัสดุ = 1:10 วัสดุที่ย่อยสลายได้ปานกลางใช้อัตรา 1:5 ถ้าเป็นวัสดุย่อยยาก เช่น ซังข้าวโพด ใช้อัตรา 1:1 เสร็จแล้วใช้น้ำรดให้ทั่ว ให้ได้ความชื้นโดยรวมประมาณ 40-60% ทำการเหยียบบนกองปุ๋ยให้แน่น หลังจากเหยีบแล้วควรให้มีความสูง 50 ซ.ม. ถ้ายุบมากไปให้นำวัสดุใส่เพิ่ม
3. ทำซ้ำตามข้อ 1 โดยกองทับบนกองเดิมจนได้ความสูงประมาณ 1 เมตร
4. นำพลาสติก คลุมกองให้มิด ใช้วัสดุหนัก ๆ ทับชายพลาสติกโดยรอบ เพื่อป้องกันไม่ให้เปิดออกเวลามีลมพัด
5. ทำการกลับกองทุก ๆ 7 วัน และสังเกตกองปุ๋ยว่ามีความชื้นมาก หรือน้อยเกินไปหรือไม่ ถ้าความชื้นน้อยไปสามารถเติมน้ำได้ แต่ถ้าแฉะมากไปให้เปิดกองระบายความชื้นออก กองปุ๋ยที่ดีจะมีความร้อนขึ้นสูงในช่วง 7-15 วัน และจะเริ่มลดลงหลังจาก 20 วัน การทำปุ๋ยหมักให้ได้ดีผู้ปฏิบัติต้องเรียนรู้ด้วยตนเองด้วย ว่าความเหมาะสมอยู่ตรงไหน เพราะการปฏิบัติจริงนั้นมีปัจจัยภายนอกเกี่ยวข้องมาก ผู้ปฏิบัติจะต้องรู้วิธีการควบคุม โดยข้อมูลที่ให้มานี้เป็นเพียงหลักเกการเบื้องต้น เท่านั้น การทำปุ๋ยใช้เองควรเน้นเฉพาะวัสดุที่หาง่ายในพื้นที่ของตัวเอง/ ในท้องถิ่น และถ้ามีความจำเป็นที่จะต้องซื้อควรเลือกวัดุที่มีราคาถูก ในกรณีที่ทำปุ๋ยหมักใช้เองเรื่องเวลาของการหมักอาจไม่มีความสำคัญมากนัก ถ้าหากว่าผู้ใช้ ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องนำมาใช้เร็ว อาจทำการหมักทิ้งไว้ 2-3 เดือนก็ได้ โดยใช้วัสดุที่มีอยู่ กองรวมกันดังกล่าว แต่ถ้าต้องการให้มีการเกิดเป็นปุ๋ยในเวลาที่สั้น จำเป็นที่จะต้องใช้ มูลสัตว์เพิ่มขึ้น มากน้อยขึ้นอยู่กับวัสดุที่นำมาใช้

สนใจสินค้า "สวนแม่นวนจันทร์" สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  086-4488249

หรือติดตามได้ที่

Facebook  : www.facebook.com/suanmaenuanjun

Line ID  :  0864488249